บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
ประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558
เรียนครั้งที่ 9 เวลา 08:30-12:30 น.
เนื้อหาที่สอน
1) สอบสอนการเขียนกระดาน ในเรื่องที่เตรียมมา (นิทาน) ของแต่ละกลุ่ม
2) การเคลื่อนไหวและจังหวะ
Knowledge ( ความรู้)
1) สอบสอนการเขียนกระดาน ในเรื่องที่เตรียมมา (นิทาน) ของแต่ละกลุ่ม
1) สอบสอนการเขียนกระดาน ในเรื่องที่เตรียมมา (นิทาน) ของแต่ละกลุ่ม
2) การเคลื่อนไหวและจังหวะ
Knowledge ( ความรู้)
1) สอบสอนการเขียนกระดาน ในเรื่องที่เตรียมมา (นิทาน) ของแต่ละกลุ่ม
นิทานเรื่อง ผักมีประโยชน์
นิทานเรื่อง วันลอยกระทง
นิทานเรื่อง กระต่ายของฉัน
หนูไปซื้อผักกับแม่ที่ตลาด
หนูเห็นผักหลายอย่างเลย
มีแครอท แตงกวา คะน้า
เอาผักมาทำอาหาร
กินผักร่างกายแข็งเเรง
ภาพในการทำกิจกรรม
การสอนของเพื่อนกลุ่มอื่นนิทานเรื่อง โรงเรียนของฉัน
นิทานเรื่อง วันลอยกระทง
นิทานเรื่อง กระต่ายของฉัน
เทคนิคในการสอนการแต่งนิทานร่วมกันกับเด็ก
ขั้นนำ
ใช้เพลง หรือ คำถาม เช่น ถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักผักไหม เด็กๆเคยเห็นผักไหม เป็นต้น และบอกเด็กว่าวันนี้มีกิจกรรมจะมาทำร่วมกันกับเด็ก คือ แต่งนิทานร่วมกัน จากนั้นก็ให้เด็กร่วมกันตั้งชื่อเรื่องของนิทาน
ขั้นสอน
ครูควรใช้คำถามกระตุ้นเด็ก เพื่อให้นิทานไปในทิศทางเดียวกัน และให้ถามซ้ำในประโยคที่เรากำลังเขียน เช่น นิทานของเรามีชื่อเรื่องว่าอะไรนะคะ? เป็นต้น
ขั้นสรุป
อ่านให้เด็กฟัง และใช้คำถาม 5 W 1 H คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร เพื่อทบทวนนิทานที่ช่วยกันเเต่ง และเป็นเสริมความจำให้เด็กอีกด้วย
ใช้เพลง หรือ คำถาม เช่น ถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักผักไหม เด็กๆเคยเห็นผักไหม เป็นต้น และบอกเด็กว่าวันนี้มีกิจกรรมจะมาทำร่วมกันกับเด็ก คือ แต่งนิทานร่วมกัน จากนั้นก็ให้เด็กร่วมกันตั้งชื่อเรื่องของนิทาน
ขั้นสอน
ครูควรใช้คำถามกระตุ้นเด็ก เพื่อให้นิทานไปในทิศทางเดียวกัน และให้ถามซ้ำในประโยคที่เรากำลังเขียน เช่น นิทานของเรามีชื่อเรื่องว่าอะไรนะคะ? เป็นต้น
ขั้นสรุป
อ่านให้เด็กฟัง และใช้คำถาม 5 W 1 H คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร เพื่อทบทวนนิทานที่ช่วยกันเเต่ง และเป็นเสริมความจำให้เด็กอีกด้วย
เทคนิคในการเขียนกระดาษ
- ไม่บังกระดาน โดยอาจจะนั่งเอียงประมาณ 45 องศา
- ใช้ปากกาที่มีสีชัดเจน ให้เด็กมองเห็นได้ง่าย และใช้สีเน้นคำในเรื่องที่จะสอน เช่น ผักมีประโยชน์
- มีการใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็กตลอดเวลา
- เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการเขียนกระดาน เช่น ขออาสาสมัครมาช่วยครูเขียนคำว่า "ผัก"
- เมื่อเขียนเสร็จครูอ่านให้เด็กฟัง และใช้คำถาม 5 W 1 H คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร เพื่อทบทวนนิทานที่ช่วยกันเเต่ง และเป็นเสริมความจำให้เด็กอีกด้วย
2) การเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.1 อาจารย์ให้เคลื่อนไหวร่างกายทีละคน
- รอบที่ 1 ให้แต่ละคนเคลื่อนไหวโดยห้ามทำท่าซ้ำกันไปเรื่อยๆจนครบทุกคน
- รอบที่ 2 ให้เคลื่อนไหวตามชื่อของตามเอง เช่น ถ้าชื่อมี 3 พยางค์
ก็ให้เคลื่อนไหว เป็น 3 ท่าเคลื่อนไหวตามชื่อของตนเอง
- รอบที่ 3 ให้เคลื่อนไหวตามท่าเคลื่อนไหวของเพื่อนที่อยู่ด้านขวามือและตามด้วย
ชื่อและท่าเคลื่อนไหวของตนเอง
2.2 อาจารย์ให้เคลื่อนไหวตามจินตนาการ ทั้งเดินตามจังหวะไปเรื่อยๆ มีการจับคู่
- รอบที่ 2 ให้เคลื่อนไหวตามชื่อของตามเอง เช่น ถ้าชื่อมี 3 พยางค์
ก็ให้เคลื่อนไหว เป็น 3 ท่าเคลื่อนไหวตามชื่อของตนเอง
- รอบที่ 3 ให้เคลื่อนไหวตามท่าเคลื่อนไหวของเพื่อนที่อยู่ด้านขวามือและตามด้วย
ชื่อและท่าเคลื่อนไหวของตนเอง
2.2 อาจารย์ให้เคลื่อนไหวตามจินตนาการ ทั้งเดินตามจังหวะไปเรื่อยๆ มีการจับคู่
จับกลุ่ม ตามข้อตกลงของอาจารย์
2.3 แบ่งกลุ่มสอนการเคลื่อนไหว โดยกลุ่มดิฉันได้หัวข้อ เรื่อง "ปลา" ซึ่งอาจารย์กำหนดให้เคลื่อนไหวแบบคนเดียว เคลื่อนไหวเเบบจับคู่ เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 4 คน และเคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 8 คน
ในการสอนก็ให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามจังหวะของเครื่องเคาะ มีทั้งจังหวะช้า จังหวะเร็ว และเมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้เด็กๆฟังคำสั่งและข้อตกลงของคุณครู คือ
- เคลื่อนไหวแบบคนเดียว = ปลา
- เคลื่อนไหวเเบบจับคู่ = กุ้ง
- เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 4 คน = ปลาหมึก
ในการสอนก็ให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามจังหวะของเครื่องเคาะ มีทั้งจังหวะช้า จังหวะเร็ว และเมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้เด็กๆฟังคำสั่งและข้อตกลงของคุณครู คือ
- เคลื่อนไหวแบบคนเดียว = ปลา
- เคลื่อนไหวเเบบจับคู่ = กุ้ง
- เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 4 คน = ปลาหมึก
-เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 8 คน = ปู
สรุป
การเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ โดยอาจจะให้เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการของเด็ก และไม่ควรไปตีกรอบความคิดของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและทำด้วยตนเอง เพราะ เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้มีมากยิ่งขึ้น
การเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ โดยอาจจะให้เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการของเด็ก และไม่ควรไปตีกรอบความคิดของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและทำด้วยตนเอง เพราะ เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้มีมากยิ่งขึ้น
Skill (ทักษะ)
- การฝึกเขียนกระดานที่ถูกวิธี เพื่อให้มีตัวหนังสือที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย
- ฝึกการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กในการแต่งนิทาน
- ฝึกการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กในการแต่งนิทาน
Application ( การประยุกต์ใช้ )
เมื่อฝึกเขียนกระดานบ่อยๆ เวลาที่ไปสอนเด็ก เราก็จะสามารถเขียนตัวหนังสือบนกระดานได้อย่างสวยงามและคล่องแคล่ว และฝึกทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เพื่อจะได้เกิดทักษะและความชำนาญ เวลาที่ไปสอนเด็กจริงๆจะได้ไม่ตื่นเต้น
Technical Education ( เทคนิคการสอน )
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
- มีการเสริมแรงเป็นระยะๆ
- มีการเสริมแรงเป็นระยะๆ
Evaluation ( การประเมิน)
Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม
Teacher : อาจารย์ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และฝึกให้นักศึกษาให้เกิดความรู้ด้วยตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น