วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Lesson 10

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  16 พฤศจิกายน 2558
เรียนครั้งที่  10  เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223



Knowledge (ความรู้)

กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน  " กิจกรรม ร้านขนมหวาน "




คำถาม

1)  เมื่อเดินเข้าไปในร้านขนมหวาน จะเลือกขนมชิ้นไหน เพราะอะไร?
2)  ระหว่างที่ซื้อขนมอยู่นั้น มองออกไปข้างนอกร้านมีกลุ่มเด็ก 1 กลุ่ม มายืนอยู่หน้าร้าน
      ขนม คิดว่าเด็กจะเดินเข้ามาในร้านกี่คน ?
3)  เมื่อเราซื้อขนมมาที่บ้าน คิดว่าคนขายจะแถมขนมให้กี่ชิ้น ?
4)  ขนมที่ซื้อแล้ว ขนมที่ซื้อจะตั้งใจเอาไปให้ใคร?



                                      

เรียนในสไลด์ Power point  เรื่อง " ศิลปะสร้างสรรค์ "







ศิลปะสร้างสรรค์


ความหมาย
  • เป็นเครื่องมือที่ให้เด็กแสดงความรู้สึก ความต้องการออกมาผ่านผลงาน
  • การวาด การปั้น การประดิษฐ์  การตัด การฉีก การปะ การพับ

ความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะสร้างสรรค์
  • เด็กได้เเสดงความรู้สึก ความคิด ความสามารถ
  • ตอบสนองธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
  • บำบัดอารมณ์
  • ฝึกทักษะการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  • แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก

พัฒนาการทางศิลปะของ Lowenfeld and Britain

1) ขั้นขีดเขียน ( Scribbling Stage )

  • 2-4 ปี
  • ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

2) ขั้นก่อนมีแบบแผน ( Preschemalic Stage)
  • 4-7 ปี
  • ภาพมีความสัมพันธ์กับความจริง

3) ขั้นใช้สัญลักษณ์ (Schemalic Stage)
  • 7-9 ปี
  • คล้ายของจริง

หลักการจัดประสบการณ์ศิลปะ
  • กระบวนการสำคัญกว่าผลงาน
  • หลีกเลี่ยงการวาดภาพตามแบบ การระบายสีจากสมุดภาพ
  • ชื่นชม
  • เตรียมอุปกรณ์
  • ศิลปะสำคัญเช่นเดียวกับการเขียนอ่าน
หลีกเลี่ยงคำถาม " กำลังทำอะไร" หรือ " เดาสิ่งที่เด็กทำ "


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  • กิจกรรมสี
  • การปั้น
  • การตัดปะ
  • การพับ
  • การประดิษฐ์





กิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย









การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

ควรแบ่งออกเป็น 4 ฐาน
  • 3 ฐานแรก ก็เป็นศิลปะประจำวัน ที่ให้เด็กทำทุกๆวัน เช่น วาดภาพ ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน
  • ส่วนฐานที่ 4 เป็นกิจกรรมพิเศษที่คุณครูต้องคิดกิจกรรมขึ้นมาโดยไม่ให้ซ้ำกันในแต่ละวันเเละสอดคล้องกับหน่วยที่เรียนด้วย


การสอนศิลปะในฐานที่ 4 ( กิจกรรมพิเศษที่คุณครูต้องคิดขึ้นมา) 

ขั้นนำ 

         - แนะนำอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง เช่น สีเทียน กระดาษ รูปตาราง รูปปลาโลมา เป็นต้น
         - พูดคุยกับเด็กและบอกเด็ํกว่าวันนี้ให้เด็กทำอะไร เช่น เด็กๆต้องวาดลายลงไปในตารางโดยมีข้อแม้ว่า ห้ามซ้ำกัน








ขั้นสอน
 
        - ครูสาธิตให้เด็กดู แล้วอาจจะนำไปติดไว้บนหน้ากระดานเพื่อให้เด็กได้มองเห็น
        - ให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง


ขั้นสรุป
        
        - ให้เด็กออกมาเล่าเกี่ยวกับรูปภาพที่เด็กทำ
        - โชว์ผลงานของเด็ก






Skill (ทักษะ)

- การใช้ความคิดสร้างสรรค์
- การลงมือทำด้วยตนเอง



Application ( การประยุกต์ใช้ )

     นำไปใช้จัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์  ลงมือทำด้วยตนเอง เเละเพื่อส่งเสริมศักยภาพของเด็กด้านความคิดสร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
- มีการเสริมแรงเป็นระยะๆ



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ จดบันทึกทุกครั้ง

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม แสดงความคิดเห็น

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างให้เห็นแบบชัดเจน ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และฝึกให้นักศึกษาให้เกิดความรู้ด้วยตนเอง








วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Lesson 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  9 พฤศจิกายน 2558
เรียนครั้งที่  9  เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223




เนื้อหาที่สอน

1) สอบสอนการเขียนกระดาน ในเรื่องที่เตรียมมา (นิทาน) ของแต่ละกลุ่ม
2) การเคลื่อนไหวและจังหวะ



Knowledge ( ความรู้)
1) สอบสอนการเขียนกระดาน ในเรื่องที่เตรียมมา (นิทาน) ของแต่ละกลุ่ม


นิทานเรื่อง ผักมีประโยชน์

หนูไปซื้อผักกับแม่ที่ตลาด
หนูเห็นผักหลายอย่างเลย
มีแครอท แตงกวา คะน้า
เอาผักมาทำอาหาร
กินผักร่างกายแข็งเเรง



ภาพในการทำกิจกรรม






















การสอนของเพื่อนกลุ่มอื่นนิทานเรื่อง โรงเรียนของฉัน




นิทานเรื่อง วันลอยกระทง




นิทานเรื่อง กระต่ายของฉัน





เทคนิคในการสอนการแต่งนิทานร่วมกันกับเด็ก
ขั้นนำ
        ใช้เพลง หรือ คำถาม เช่น ถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักผักไหม เด็กๆเคยเห็นผักไหม เป็นต้น และบอกเด็กว่าวันนี้มีกิจกรรมจะมาทำร่วมกันกับเด็ก คือ แต่งนิทานร่วมกัน จากนั้นก็ให้เด็กร่วมกันตั้งชื่อเรื่องของนิทาน

ขั้นสอน
       ครูควรใช้คำถามกระตุ้นเด็ก เพื่อให้นิทานไปในทิศทางเดียวกัน และให้ถามซ้ำในประโยคที่เรากำลังเขียน เช่น  นิทานของเรามีชื่อเรื่องว่าอะไรนะคะ? เป็นต้น

ขั้นสรุป
       อ่านให้เด็กฟัง และใช้คำถาม 5 W 1 H  คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร เพื่อทบทวนนิทานที่ช่วยกันเเต่ง และเป็นเสริมความจำให้เด็กอีกด้วย






เทคนิคในการเขียนกระดาษ

-  ไม่บังกระดาน โดยอาจจะนั่งเอียงประมาณ 45 องศา
-  ใช้ปากกาที่มีสีชัดเจน ให้เด็กมองเห็นได้ง่าย และใช้สีเน้นคำในเรื่องที่จะสอน เช่น ผักมีประโยชน์
-  มีการใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็กตลอดเวลา
-  เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการเขียนกระดาน เช่น ขออาสาสมัครมาช่วยครูเขียนคำว่า "ผัก"
-  เมื่อเขียนเสร็จครูอ่านให้เด็กฟัง และใช้คำถาม 5 W 1 H  คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร เพื่อทบทวนนิทานที่ช่วยกันเเต่ง และเป็นเสริมความจำให้เด็กอีกด้วย





2) การเคลื่อนไหวและจังหวะ
               
               2.1 อาจารย์ให้เคลื่อนไหวร่างกายทีละคน 
                      - รอบที่ 1 ให้แต่ละคนเคลื่อนไหวโดยห้ามทำท่าซ้ำกันไปเรื่อยๆจนครบทุกคน
                      - รอบที่ 2 ให้เคลื่อนไหวตามชื่อของตามเอง เช่น ถ้าชื่อมี 3 พยางค์
                        ก็ให้เคลื่อนไหว เป็น 3 ท่าเคลื่อนไหวตามชื่อของตนเอง
                      - รอบที่ 3 ให้เคลื่อนไหวตามท่าเคลื่อนไหวของเพื่อนที่อยู่ด้านขวามือและตามด้วย
                        ชื่อและท่าเคลื่อนไหวของตนเอง

                2.2 อาจารย์ให้เคลื่อนไหวตามจินตนาการ ทั้งเดินตามจังหวะไปเรื่อยๆ มีการจับคู่ 
จับกลุ่ม ตามข้อตกลงของอาจารย์
               
                2.3 แบ่งกลุ่มสอนการเคลื่อนไหว  โดยกลุ่มดิฉันได้หัวข้อ เรื่อง "ปลา" ซึ่งอาจารย์กำหนดให้เคลื่อนไหวแบบคนเดียว เคลื่อนไหวเเบบจับคู่ เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 4 คน และเคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 8 คน

                ในการสอนก็ให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามจังหวะของเครื่องเคาะ มีทั้งจังหวะช้า จังหวะเร็ว และเมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้เด็กๆฟังคำสั่งและข้อตกลงของคุณครู คือ
- เคลื่อนไหวแบบคนเดียว  = ปลา
- เคลื่อนไหวเเบบจับคู่       =  กุ้ง
- เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 4 คน = ปลาหมึก
-เคลื่อนไหวแบบจับกลุ่ม 8 คน = ปู




สรุป

         การเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ โดยอาจจะให้เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการของเด็ก และไม่ควรไปตีกรอบความคิดของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและทำด้วยตนเอง เพราะ เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้มีมากยิ่งขึ้น




Skill (ทักษะ)

- การฝึกเขียนกระดานที่ถูกวิธี เพื่อให้มีตัวหนังสือที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย
- ฝึกการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กในการแต่งนิทาน



Application ( การประยุกต์ใช้ )

     เมื่อฝึกเขียนกระดานบ่อยๆ เวลาที่ไปสอนเด็ก เราก็จะสามารถเขียนตัวหนังสือบนกระดานได้อย่างสวยงามและคล่องแคล่ว และฝึกทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เพื่อจะได้เกิดทักษะและความชำนาญ เวลาที่ไปสอนเด็กจริงๆจะได้ไม่ตื่นเต้น



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
- มีการเสริมแรงเป็นระยะๆ



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และฝึกให้นักศึกษาให้เกิดความรู้ด้วยตนเอง





Lesson  8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  2 พฤศจิกายน 2558
เรียนครั้งที่  8  เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223






เนื้อหาที่สอน
1) ทบทวนและร้องเพลง
2) อาจารย์สาธิตการเขียนกระดานและแต่งนิทานร่วมกับเด็ก
3) แบ่งกลุ่มฝึกเขียนกระดาน
4) แต่งนิทานที่จะใช้สอนเด็ก

Knowledge ( ความรู้ )
1) ทบทวนและร้องเพลง





Twinkle, twinkle, little star


Twinkle, twinkle, little star
How I wonder what you are
Up above the world so high
Like a diamond in the sky

When the blazing sun is gone
When he nothing shines upon
Then you show your little light
Twinkle, twinkle, all the night

Then the traveler in the dark
Thanks you for your tiny spark
He could not see which way to go
If you did not twinkle so

In the dark blue sky you keep
And often through my curtains peep
For you never shut your eye
Till the sun is in the sky

And as your bright and tiny spark
Lights the traveler in the dark
Though I know not what you are
Twinkle, twinkle, little star

Twinkle, twinkle, little star
How I wonder what you are
Up above the world so high
Like a diamond in the sky

Twinkle, twinkle, little star
How I wonder what you are
How I wonder what you are 








Where is Thumbkin?

Where is Thumbkin?
Where is Thumbkin?
Here I am.
Here I am. 
How are you today, sir?
Very well, I thank you.
Run and play.
Run and play.

Where is Pointer?
Where is Pointer?
Here I am.
Here I am. 
How are you today, sir?
Very well, I thank you.
Run and play.
Run and play.






2) อาจารย์สาธิตการเขียนกระดานและแต่งนิทานร่วมกับเด็ก
    อาจารย์สาธิตการเขียนกระดานและร่วมกันแต่งนิทาน เรื่อง " ทะเลแสนงาม"








3) แบ่งกลุ่มฝึกเขียนกระดาน




สิ่งที่ฝึกเขียน







4 ) แต่งนิทานที่จะใช้สอนเด็ก
นิทานเรื่อง ผักมีประโยชน์
หนูไปซื้อผักกับแม่ที่ตลาด
หนูเห็นผักหลายอย่างเลย
มีแครอท แตงกวา คะน้า
เอาผักมาทำอาหาร
กินผักร่างกายแข็งเเรง




เทคนิคการเขียนกระดาน

        เทคนิค คือ นั่งเฉียง 45 องศา ไม่ควรนั่งบังกระดาน และหากเราเป็นคนเขียนคนแรกเราต้องเขียนบรรทัดบนสุด เพื่อให้เพื่อนได้เขียนต่อ และควรสลับให้เพื่อนมาเขียนบรรทัดแรก เเละให้เราสลับไปเขียนบรรทัดอื่น เพื่อจะได้ฝึกเขียนตำแหน่งอื่นบนกระดาษ
        การฝึกเขียนกระดานบ่อยๆ จะทำให้ผู้เขียนมีความชำนาญ และตัวหนังสือสวย อ่านง่าย เป็นระเบียบเรียบร้อย และควรนั่งเขียนอย่างมีบุคลิกภาพที่ดี เป็นแบบอย่างให้เด็กได้ซึมซับสิ่งดีดีด้วย




Skill (ทักษะ)

- การฝึกเขียนกระดานที่ถูกวิธี เพื่อให้มีตัวหนังสือที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย



Application ( การประยุกต์ใช้ )

     เมื่อฝึกเขียนกระดานบ่อยๆ เวลาที่ไปสอนเด็ก เราก็จะสามารถเขียนตัวหนังสือบนกระดานได้อย่างสวยงามและคล่องแคล่ว



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง อาจารย์เป็นเพียงผู้เเนะนำและเสริมแรงให้นักศึกษา เมื่อนักศึกษาทำได้