วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 5
บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  5 ตุลาคม  2558
เรียนครั้งที่  5 เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223



Knowledge ( ความรู้ )

1) ทำกิจกรรม เล่นเกม " นักมายากลระดับโลก "


   
   
โดยมีคำถาม 4 ข้อ คือ...
           
            1) สมมติเราเป็นนักมายากลอยู่หลังเวทีกำลังขึ้นแสดงโชว์มีเราจะมีความรู้สึกอย่างไร ?

            2) เมื่อเราออกไปแสดงโชวแล้ว แต่ขณะเล่นเราต้องเรียกผู้ชมขึ้นมาเล่นแสดงร่วมกับเราบนเวที  เราจะเลือกใคร ?
            3) ขณะที่แสดงอยู่เราทำพลาดโดยเพื่อนจับผิดได้ เราจะกระซิบว่าอะไร ?
            4) หลังจากแสดงเสร็จนึกย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วรู้สึกอย่างไร ?

      เฉลยกิจกรรมนักมายากลระดับโลก ( เรื่อง ของการโกหก )

             
             1) รู้สึกอย่างไรเมื่อโกหกคนอื่น
             2) คนที่โดนหลอกง่ายคือใคร
             3) โกหกแล้วโดนจับได้จะพูดอย่างไร?
             4) ความรู้สึกที่ได้โกหก

2) เรียนใน Power point  เรื่อง " 
การเล่นเพื่อสิ่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ "




การเล่น คือ...
      - กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
      - ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลินเพลิน ผ่อนคลาย
      - ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม                                                                                         

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น  

Piaget 
   
      กล่าวถึงพัฒนกาารเล่นของเด็กมี 3 ขั้นดังนี้

             - ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play) เช่น การหยิบจับ สำรวจ ซึ่งจะยตุลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
             - ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play) อายุ 1ปีครึ่ง-2ปี การเล่นไม่มีขอบเขต เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เล่นคนเดียวต่างคนต่างเล่น
             - ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุดคือการเล่นบทบาทสมมติ                                                                                                                                                      
ประเภทของเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสร้างสรรค์

       - การเล่นกลางแจ้ง
       - การเล่นในร่ม
การเล่นในร่ม
  

       - การเล่นตามมุมประสบการณ์
       - การเล่นสรรค์สร้าง      

การเล่นสรรค์สร้าง

       - การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
       - ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
       - เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง

        - สภาวะการเรียนรู้
        - พัฒนาการของการรู้คิด
        - กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน

กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้

        - เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
        - การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงเวลา
        - การจำแนกอย่างมีเหตุผล

หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง    

        - ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
        - ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
        - มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม



ความรู้เพิ่มเติม

        รูปแบบการสอนแบบ STEM


                 S = Science

                 T = Tecnology
                 E = Engineering
                 M = Mathematics 


3) กิจกรรม " นักออกแบบอาคาร"







- แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
- โดยมีกติกา คือ ต่อให้ได่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่...
             * รอบที่ 1 ห้ามปรึกษากัน
             * รอบที่ 2 ให้พูดได้แค่ 1 คน
             * รอบที่ 3 ให้พูดคุยปรึกษากันได้
- ในการต่อแต่ละครั้งก็จะใช้ไม้บรรทัดวัดความสูงว่าได้เท่าไหร่


อุปกรณ์

     1) ดินน้ำมัน
     2) ไม้จิ้มฟัน








ความสูงที่ทำได้ 

     - ครั้งที่ 1 = 22 เซนติเมตร

     - ครั้งที่ 2 = 30เซนติเมตร
     - ครั้งที่ 3 = 48 เซนติเมตร








4) กิจกรรม  " เรือน้อยบรรทุกของ "









อุปกรณ์ 

     
       1) กระดาษ 1 แผ่น

       2) ไม้เสียบลูกชิ้น 4 ไม้
       3) หนังยาง 4 เส้น








กติกา
     
        ให้ทำเรือโดยใช้อุปกรณ์ที่กำหนดให้ ตามความคิดของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้บรรทุกของ
( ไข่พลาสติกใส่ดินน้ำมัน ) ให้ได้มากที่สุด


ภาพในการทำกิจกรรม และภาพ เรือน้อยของกลุ่มดิฉัน










นำเรือน้อยมาบรรทุกของ 
( ไข่พลาสติกใส่ดินน้ำมัน )






!!บรรทุกของ( ไข่พลาสติกใส่ดินน้ำมัน ) จำนวน 19 ฟอง!!



สรุป
       จากการทำกิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี เพราะไม่มีการตีกรอบความคิดว่าต้องทำให้ออกมาในแบบใด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เป็นผู้คิดและลงมือกระทำด้วยตนเอง จึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้น







Skill (ทักษะ)


- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะทางด้านศิลปะ



Application ( การประยุกต์ใช้ )

      ได้รับความรู้จากกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กได้จริง และเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์
ฝึกการสร้างสรรค์ผลงานจากความคิดของตนเอง และนำกิจกรรมที่ได้ไปต่อยอดในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- มีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการสอน และนำกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น