วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 7
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  26 ตุลาคม  2558
เรียนครั้งที่  7 เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223


Knowledge
( ความรู้ )



กิจกรรม ไม้ชี้สำหรับสอนเด็กปฐมวัย




วัสดุอุปกรณ์
  • กระดาษร้อยปอนด์
  • สี
  • ไม้ลูกโป่ง
  • กระดาษสี
  • ดินสอ ยางลบ
  • ปากกาหมึกดำ(ไว้สำหรับตัดเส้น)







วิธีการทำ
  1. วาดภาพตามที่เราชอบ
  2. ระบายสีให้สวยงาม
  3. วาดและระบายสีอีกภาพเพื่อทำเป็นด้านหลัง
  4. นำภาพทั้งสองภาพมาประกบกัน
  5. นำกระดาษสีมาตกแต่งไม้ลูกโป่งให้สวยงาม
  6. นำภาพมาติดกับไม้ลูกโป่ง



วาดภาพตามที่เราชอบ







ระบายสีให้สวยงาม







วาดและระบายสีอีกภาพเพื่อทำเป็นด้านหลัง







นำภาพมาติดกับไม้ลูกโป่งและตกแต่งให้สวยงาม



ผลงานของดิฉันและเพื่อนๆ




ผลงานของดิฉันและเพื่อนๆในกลุ่ม





ผลงานของทั้งห้อง



สรุปในการทำกิจกรรม
      
       หลักในการทำไม้ชี้สำหรับใช้สอนเด็กอนุบาล ควรทำให้มีความชัดเจน เมื่อชี้ไปเด็กก็จะมองเห็นได้ชัดว่าเราชี้ตรงไหน และจะเข้าใจว่าเราสอนอะไร



Skill (ทักษะ)

- ทักษะในการทำงานศิลปะ
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจำ



Application ( การประยุกต์ใช้ )

     ได้ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงานศิลปะ ได้ออกแบบให้มีความสวยงาม น่าสนใจ และนำไปใช้สอนเด็กอนุบาลได้



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่ฝึกให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในการสอนเด็กปฐมวัยได้จริง

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 6



บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  19 ตุลาคม  2558
เรียนครั้งที่  6 เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223



Knowledge ( ความรู้)


1) กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
   
     - กิจกรรมทายเสียง " สัตว์ " มีทั้งหมด 11 เสียง คือ
       
                                         สุนัข               แมว             หมู
                                         วัว                  ไก่โต้ง          ม้า
                                         แม่ไก่             แพะ              เป็ด
                                         ลา                  ลูกเจี๊ยบ
                                       
   
       - กิจกรรมทายเสียง  " เครื่องดนตรี " มีทั้งหมด 15 เสียง คือ

                                    ไวโอลีน          แซกโซโฟน          Harmonica
                                    ฉาบ                ทรอมโบน             กีตาร์
                                    ออร์แกน          เปียโน                  ทรัมเป็ต
                                    ฟรุต                 ระนาดเหล็ก         แตร
                                    กลองชุด          เซลโล                 ปี่สก็อต


สรุป

         
               กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นภาษาสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย เราอาจจะใช้คำถาม
ให้เด็กคิด เช่น
                        - เด็กๆ คิดว่าเป็นเสียงอะไร?
                        - เด็กๆ คิดว่ามันมีหน้าตาอย่างไร?









2) เกมเสียงกระซิบ
             

              - รอบที่ 1 เล่นทั้งห้อง โดยให้หัวแถวไปจับกระดาษจากอาจารย์ ในกระดาษนั้นจะมีคำปริศนาอยู่จากนั้นให้หัวแถวที่ออกไปอ่านแล้วจำมาบอกคนเพื่อนคนต่อมาโดยการกระซิบมาเรื่อยๆ จนถึงคนสุดท้ายแล้วให้คนสุดท้ายออกไปพูดคำตอบ คำตอบ คือ

                                     แรดอย่างสงบ                   ตบเมื่อจำเป็น
                                     ตอแหลอย่างเยือกเย็น     เพราะเราเป็นไฮโซ

           
              - รอบที่ 2 แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกไปจับกระดาษเพื่อนำเอาประโยคมากระซิบเพื่อนต่อจนถึงคนสุดท้ายแล้วให้คนสุดท้ายตอบ คำตอบคือ
                                           
                                                  ฟังธรรมะจะทำให้ไม่โง่
                               แต่ถ้าฟังโปเตโต้        ถึงมีรักแท้ก็ดูแลไม่ได้

             
               - รอบที่ 3 ทำเหมือนรอบแรก แต่เปลี่ยนคนในกลุ่มไปเป็นหัวแถวแทนคนเดิม คำตอบคือ


                    โอ้ดวงใจพี่โทรไปใยไม่รับ                   
                                                  ฤาจะดับความหวังพี่นี้ไฉน
                                                  คนเฝ้ารอเสียงสวรรค์ไหวหวั่นใจ        
                                                  ครั้งต่อไปไม่รับสายตายแน่มึง 

             
               - รอบสุดท้าย ทำเหมือนเดิม คำตอบ คือ

                                                           นิ่มเนื้อ  ณ  หนั่นนั้น         
                                                          น้ำนองนั่น ณ เนินนูน                                                                                                        หนาวเหน็บ ณ นี่นู่น          
                                                         ก็แนบนั่น ณ หนั่นนาง


                                            


                                   
3)  แต่งคำคล้องจอง จากเพลง " อะไรเอ่ย "





กลุ่มของดิฉัน

                                         อะไรเอ่ยรูปร่างสูงใหญ่             มันกินใบไม้อยู่ในทุ่งหญ้า
                                         ลำคอสูงยาวสีเหลืองลายตา     ท่าทางสง่ามาลองทายดู



                                         อะไรเอ่ยรูปร่างใหญ่โต              เขายาวมากโขไถนาก็ได้
                                         มีขาสี่ข้างมีหางแกว่งไกว          แช่่โคลนสุขใจคู่หูชาวนา





กลุ่มของเพื่อนๆ
                                 
                                    อะไรเอ่ยอยู่ในน้ำใส                       ว่ายเวียนว่องไวในสายธารา
                                    มีครีบมีเหงือกมีหางและตา(ซ้ำ)     อยากจะรู้ว่า เอ๊ะ!ตัวอะไร



                                    อะไรเอ่ยชอบกินใบไผ่                    รูปร่างตัวใหญ่มาจากเมืองจีน
                                    ซุกซนและชอบป่ายปีน (ซ้ำ)           มีชื่อหลินปิง เอ๊ะ!ตัวอะไร




                                    อะไรเอ่ยตัวสูงคอยาว                      มีฟันสีขาวขายาวลายจุด
                                    ชอบกินใบไม้บนยอดสูงสุด             พอถึงวันหยุดเด็กชอบไปดู



                                     อะไรเอ๋ยเป็นเจ้าแห่งป่า                  เป็นสัตว์สีขาเลี้ยงลูกด้วยนม
                                     มีขนแผงคอสวยงามน่าชม              เด็กเด็กทุกคนมาลองทายดู




                                      อะไรเอ่ยรูปร่างเล็กเล็ก                  ไม่ถูกสเป็คกับแมวตัวใหญ่
                                      ส่งเสียงจี๊ดจี๊ดมีอยู่ทั่วไป                 สีดำนั้นไซร้ลองทายกันดู



                                      อะไรเอ่ยมีหลายขนาด                    เจ้าหนูชอบพลาดโดนมันจับกิน
                                      เมื่อเห็นปลาทูมันทำหน้าฟิน           เหมียวเหมียวจะกินลองทายดู





สรุป
 
         กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านการคิดของเด็กและให้เด็กได้พัฒนาด้านภาษา ซึ่งเป็นภาษาธรรมชาติอย่างง่ายที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง





Skill (ทักษะ)



- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจำ



Application ( การประยุกต์ใช้ )

      ได้ฝึกการใช้ความจำและทำงานได้อย่างเป็นกระบวนการ ฝึกการแต่งคำคล้องจองที่เป็นภาษาธรรมชาติที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างง่ายทำให้การเรียนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- มีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน คือ การเล่นเกม
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการสอน มีการยกตัวอย่างประกอบให้เห็นได้ชัดเจน  และนำกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
















                                                                                                                          
           


         

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 5
บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  5 ตุลาคม  2558
เรียนครั้งที่  5 เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223



Knowledge ( ความรู้ )

1) ทำกิจกรรม เล่นเกม " นักมายากลระดับโลก "


   
   
โดยมีคำถาม 4 ข้อ คือ...
           
            1) สมมติเราเป็นนักมายากลอยู่หลังเวทีกำลังขึ้นแสดงโชว์มีเราจะมีความรู้สึกอย่างไร ?

            2) เมื่อเราออกไปแสดงโชวแล้ว แต่ขณะเล่นเราต้องเรียกผู้ชมขึ้นมาเล่นแสดงร่วมกับเราบนเวที  เราจะเลือกใคร ?
            3) ขณะที่แสดงอยู่เราทำพลาดโดยเพื่อนจับผิดได้ เราจะกระซิบว่าอะไร ?
            4) หลังจากแสดงเสร็จนึกย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วรู้สึกอย่างไร ?

      เฉลยกิจกรรมนักมายากลระดับโลก ( เรื่อง ของการโกหก )

             
             1) รู้สึกอย่างไรเมื่อโกหกคนอื่น
             2) คนที่โดนหลอกง่ายคือใคร
             3) โกหกแล้วโดนจับได้จะพูดอย่างไร?
             4) ความรู้สึกที่ได้โกหก

2) เรียนใน Power point  เรื่อง " 
การเล่นเพื่อสิ่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ "




การเล่น คือ...
      - กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
      - ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลินเพลิน ผ่อนคลาย
      - ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม                                                                                         

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น  

Piaget 
   
      กล่าวถึงพัฒนกาารเล่นของเด็กมี 3 ขั้นดังนี้

             - ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play) เช่น การหยิบจับ สำรวจ ซึ่งจะยตุลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
             - ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play) อายุ 1ปีครึ่ง-2ปี การเล่นไม่มีขอบเขต เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เล่นคนเดียวต่างคนต่างเล่น
             - ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุดคือการเล่นบทบาทสมมติ                                                                                                                                                      
ประเภทของเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสร้างสรรค์

       - การเล่นกลางแจ้ง
       - การเล่นในร่ม
การเล่นในร่ม
  

       - การเล่นตามมุมประสบการณ์
       - การเล่นสรรค์สร้าง      

การเล่นสรรค์สร้าง

       - การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
       - ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
       - เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง

        - สภาวะการเรียนรู้
        - พัฒนาการของการรู้คิด
        - กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน

กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้

        - เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
        - การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงเวลา
        - การจำแนกอย่างมีเหตุผล

หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง    

        - ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
        - ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
        - มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม



ความรู้เพิ่มเติม

        รูปแบบการสอนแบบ STEM


                 S = Science

                 T = Tecnology
                 E = Engineering
                 M = Mathematics 


3) กิจกรรม " นักออกแบบอาคาร"







- แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
- โดยมีกติกา คือ ต่อให้ได่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่...
             * รอบที่ 1 ห้ามปรึกษากัน
             * รอบที่ 2 ให้พูดได้แค่ 1 คน
             * รอบที่ 3 ให้พูดคุยปรึกษากันได้
- ในการต่อแต่ละครั้งก็จะใช้ไม้บรรทัดวัดความสูงว่าได้เท่าไหร่


อุปกรณ์

     1) ดินน้ำมัน
     2) ไม้จิ้มฟัน








ความสูงที่ทำได้ 

     - ครั้งที่ 1 = 22 เซนติเมตร

     - ครั้งที่ 2 = 30เซนติเมตร
     - ครั้งที่ 3 = 48 เซนติเมตร








4) กิจกรรม  " เรือน้อยบรรทุกของ "









อุปกรณ์ 

     
       1) กระดาษ 1 แผ่น

       2) ไม้เสียบลูกชิ้น 4 ไม้
       3) หนังยาง 4 เส้น








กติกา
     
        ให้ทำเรือโดยใช้อุปกรณ์ที่กำหนดให้ ตามความคิดของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้บรรทุกของ
( ไข่พลาสติกใส่ดินน้ำมัน ) ให้ได้มากที่สุด


ภาพในการทำกิจกรรม และภาพ เรือน้อยของกลุ่มดิฉัน










นำเรือน้อยมาบรรทุกของ 
( ไข่พลาสติกใส่ดินน้ำมัน )






!!บรรทุกของ( ไข่พลาสติกใส่ดินน้ำมัน ) จำนวน 19 ฟอง!!



สรุป
       จากการทำกิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี เพราะไม่มีการตีกรอบความคิดว่าต้องทำให้ออกมาในแบบใด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เป็นผู้คิดและลงมือกระทำด้วยตนเอง จึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้น







Skill (ทักษะ)


- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะทางด้านศิลปะ



Application ( การประยุกต์ใช้ )

      ได้รับความรู้จากกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กได้จริง และเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์
ฝึกการสร้างสรรค์ผลงานจากความคิดของตนเอง และนำกิจกรรมที่ได้ไปต่อยอดในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- มีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการสอน และนำกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์







วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Lesson 4


บันทึกอนุทิน





วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  21 กันยายน  2558
เรียนครั้งที่ 4  เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223


Knowledge ( ความรู้)


- ทบทวนเพลง London Bridge is falling down





- ร้องเพลงใหม่




Mary Had A Little Lamb

Mary had a little lamb,
Little lamb, little lamb,
Mary had a little lamb.
It's fleece was white as snow.

Everywhere that Mary went,
Marry went, Marry went,
Everywhere that Mary went
The lamb was sure to go.

He followed her to school one day
School one day, school one day
He followed her to school one day
Which was against the rules.

He made the children laugh and play,
Laugh and play, laugh and  play,
He made the children laugh and play
to see the lamb at school.

And so the teacher turned it out,
Turned it out turned it out,
And so the teacher turned it out,
But still it lingered near.

"Does the lamb love Mary so?"
Love Mary so? Love Mary so ?
"Does the lamb love Mary so?"
The eager children cry.

"Mary loves the lamb. you know."
the lamb, you know, the lamb, you know
"Mary loves the lamb, you know.
The teacher did reply.

Mary had a little lamb,
Little lamb, little lamb,
Mary had a little lamb,
Its fleece was white as snow.





เทคนิคการสอนเด็ก
     ขั้นนำ  
          ร้องเพลง และนำเข้าสู่บทเรียน
     ขั้นเตรียม
          เตรียมอุปกรณ์
          ถามเด็กว่าเด็ก ๆ เห็นไหมว่าคุณครูมีอะไรมาบ้าง แล้ววางให้เด็กดูทีละอย่าง


กิจกรรม ดีไซน์เนอร์ระดับโลก 
       นำหนังสือพิมพ์มาดีไซน์เป็นชุดตามที่ทุกคนในกลุ่มช่วยกันระดมความคิด

อุปกรณ์
- หนังสือพิมพ์
- กาวหนังไก่
- แม็ก

ภาพการทำกิจกรรม
ชุดนี้มีแนวคิดมาจากเทพีสันติภาพและความเป็นไทย

รวมภาพกิจกรรม ดีไซน์ระดับโลก
เมื่อดีไซน์ชุดเสร็จก็มีการเดินแฟชั่นโชว์






Skill (ทักษะ)

- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะทางด้านศิลปะ



Application ( การประยุกต์ใช้ )

      ฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชุด และได้นำกิจกรรมดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมที่ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์และฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- มีกิจกรรมและเพลงมากมาย
- ใช้เกมกระตุ้นผู้เรียนให้มีสติ
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง




Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมและเพลงที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการสอน และนำกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์