วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Lesson 11

บันทึกอนุทิน 

วิชา การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่  30 พฤศจิกายน 2558
เรียนครั้งที่  11 เวลา 08:30-12:30 น.
กลุ่ม 101  ห้องเรียน  223




Knowledge  ( ความรู้)



ภาพผลงาน

















ผลงานของเพื่อนในห้อง

















ดูวิดิโอโรงเรียนอนุบาลพิบูลย์เวศน์




วิดิโอโรงเรียนอนุบาลพิบูลย์เวศน์

        วิดิโอนี้เป็นการนำเสนอการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยผ่าน 6 กิจกรรมหลัก คือ
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเสรี
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
     
       ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนนี้จะไม่เน้นการเขียนและการอ่าน แต่จะเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง






สาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์











สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ


เรื่อง การรวมและการแยกกลุ่ม







สาระที่ 2 การวัด 

เรื่อง ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร









สาระที่ 3 เรขาคณิต


เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ













สาระที่ 4 พีชคณิต



เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์







สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

เรื่อง การรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล










สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาตร์


เรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล






             สาระมาตรฐานคณิตศาตร์สามารถนำมาจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมต่างๆที่มีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น



ภาพสมมาตรสร้างสรรค์






แผนรูปสร้างสรรค์






เรขาคณิตสร้างสรรค์






ตัวเลขสร้างสรรค์







สรุป
       
           
 ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยจะเกิดขึ้นในช่วงที่สมองของมีการพัฒนามากที่สุดในช่วงอายุแรกเกิด-3 ปี และสมองจะหยุดการสร้างเซลล์สมองในอายุ 7 ขวบ ซึ่งในช่วงนี้สมองของคนเราจะไม่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นแล้ว แต่จะคงอยู่เท่าเดิมหรือลดน้อยลง ดังนั้น เราควรฝึกใช้สมองอยู่เป็นประจำเพื่อไม่ให้สมองฝ่อหรือเสื่อมลง




อาจารย์สอนการบริหารสมอง(Brain Activation)
          การบริหารสมอง (brain activation)  หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว


1. การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
   
    
     ►ปุ่มสมอง


        
     
         
   ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ๒ ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ ๓๐ วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน



ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง

♦ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
♦ ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง ๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น



     ►ปุ่มขมับ




1. ใช้นิ้วทั้ง 2 ข้าง นวดขมับเบาๆวนเป็นวงกลมประมาณ 30 วินาที
2. กวาดตามองจากซ้ายไปขวาและจากพื้นมองขึ้นไปบนเพดาน     






ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ

♦ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
♦ ทำให้การทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกสมดุลกัน



        ► ปุ่มใบหู





1. ให้นิ่วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง 2 ข้าง
2. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆกันให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบา ๆ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น


 


ประโยชน์ของการนวดใบหู

♦ เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
♦ สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น



 2. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Crawl)

    
► ท่าที่ 1 นับ 1-10




1. ยกมือทั้ง ๒ ขึ้นมา
2. มือขวา ชูนิ้วชี้ตั้งขึ้น นับ 1  มือซ้าย ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขนานกับพื้น
3. นับ 2 ให้เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายชู 2 นิ้ว คือ นิ้วชี้กับนิ้วกลาง  ส่วนมือขวาก็ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
4. นับ 3 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา 3 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง  มือซ้ายก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
5. นับ 4 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
6. นับ 5 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา 5 นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
7. นับ 6 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชีขนานกับพื้น
8. นับ 7 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วนาง  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
9.  นับ 8 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือ คือแตะที่นิ้วกลางส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
10. นับ 9 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วชี้ ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
11. นับ 10 ให้เปลี่ยนมาเป็นกำมือซ้าย ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น


ประโยชน์ของการบริหารท่านับ ๑-๑๐

♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นความจำ



      ► ท่าที่  2 จีบ L


1. ยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นมา ให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆ ให้เหยียดออกไป
2. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
3. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้าง ทำเช่นเดียวกับข้อ 1 ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวแอล (L) เช่นเดียวกับข้อ 2
4. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง


ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา

♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
♦ เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา



     ► ท่าที่ 3 โป้ง-ก้อย

    1. ยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าโป้ง โดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
2. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
3. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง





     ►  ท่าที่ ๔ แตะจมูก-แตะหู

   

1. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)





ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู

♦ ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น



     ► ท่าที่ ๕ แตะหู


   
1. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา ส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย




 ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย แตะจมูก-แตะหู

♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด



3. การผ่อนคลาย



     ยื่นใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที



ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย

♦ ทำให้เกิดสมาธิ เป็นการเจริญสติ






อาจารย์ให้รางวัลเด็กดี











Skill (ทักษะ)

- การใช้ความคิดสร้างสรรค์
- การลงมือทำด้วยตนเอง



Application ( การประยุกต์ใช้ )

     นำไปใช้จัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์  ลงมือทำด้วยตนเอง เเละเพื่อส่งเสริมศักยภาพของเด็กด้านความคิดสร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด



Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
- มีการเสริมแรงเป็นระยะๆ



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ จดบันทึกทุกครั้ง

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม แสดงความคิดเห็น

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างให้เห็นแบบชัดเจน ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และฝึกให้นักศึกษาให้เกิดความรู้ด้วยตนเอง


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น